mas template

เด็กพิเศษติดเกมมากสุด รองลงมาซึมเศร้า

{[['']]}
องค์กรออทิสติก และสำนักการศึกษา กทม. พบเด็กพิเศษติดเกมมากสุด รองลงมาจิตกังวล ซึมเศร้า เกเร แนะกทม. เพิ่มศักยภาพการดูแล 
เมื่อวันที่ 16 ก.ค. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการฯ กทม. ประชุมร่วมกับองค์กรออทิสติก และสำนักการศึกษา กทม. เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาแก่เด็กออทิสติก ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยในที่ประชุมได้มีการนำเสนอปัญหาที่ทำให้เด็กไม่พัฒนาซึ่งแยกตามลำดับได้เป็น 1. ติดเกม ประมาณ 45,198 ราย 2. จิตกังวล ประมาณ 33,898 ราย 3. ซึมเศร้า ประมาณ 22,285 ราย 4. เด็กพิเศษเฉพาะด้าน ประมาณ 18,000 ราย 5. และเด็กพฤติกรรมเกเร 17,263 ราย
นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์เด็กพิเศษในพื้นที่กรุงเทพฯโดยพบว่า จากจำนวนเด็กนักเรียนพิการที่เรียนร่วม ในสังกัด กทม. ของปีการศึกษา 56 ที่มีประมาณ 2,200 ราย พบว่าร้อยละ 20-30 หรือประมาณ 400 ราย เป็นเด็กพิเศษหรืออทิสติก ซึ่งสาเหตุของปัญหาที่ทำให้เด็กพิเศษไม่ได้รับการพัฒนา เกิดจาก 1. การขาดประสบการณ์ ขาดบุคลากร ขาดกระบวนการเรียนรู้ ขาดการวิจัยเชิงระบบ และขาดการเชื่อมต่อกระบวนการการให้บริการทางการแพทย์ และที่สำคัญทัศนคติของผู้บริหารโรงเรียน ที่ไม่เปิดโอกาสการเรียนรู้เด็กพิเศษอย่างจริงจัง ซึ่งผู้ปกครองเด็กพิเศษได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาการศึกษาที่เกิดขึ้นกับบุตรหลานที่เป็นเด็กพิเศษ เช่น การไม่ยอมรับความแตกต่างของเด็กพิเศษกับเด็กอื่นๆ ในโรงเรียน ทำให้เด็กขาดโอกาสทางการศึกษาในระดับเดียวกับเด็กปกติ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กพิเศษได้ดีและการลดโอกาสการเข้าถึงการศึกษาและการกีดกันเด็กพิเศษออกจากเด็กนักเรียนคนอื่นๆ ทั้งนี้ กทม. ควรมีการปรับแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อเปิดพื้นที่ให้เด็กพิเศษ ทำให้ กทม. แตกต่างกับโรงเรียนในสังกัดอื่นๆ
โดยตัวแทนจากศิริราชพยาบาลได้เสนอแผนให้ กทม.มีการปรับปรุงการศึกษาเพื่อเด็กพิเศษ ออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ให้มีการปรับทัศนคติที่มีต่อเด็กพิเศษ ปรับวิธีการประเมินโรงเรียน/ครู ที่มีการสอนเด็กพิเศษ พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาศักยภาพครูและพัฒนาเครื่องมือที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นต้น ระยะกลาง พัฒนาเครือข่ายส่งเสริมการเรียนรู้ เพิ่มบุคลากรครูที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน เป็นต้น และระยะยาว ควรมีการฝึกอบรมและผลิตบุคลากร โดยการสร้างคณะศึกษาศาสตร์หรือจิตวิทยา เป็นของ กทม. เอง ขยายผลโรงเรียนต้นแบบบนพื้นฐานงานวิจัย และสนับสนุนเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของเครือข่ายและภาคี ที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง กทม. จะนำแนวทางดังกล่าวไปพิจารณาเพื่อเพิ่มศักยภาพการดูแลและให้การศึกษาแก่เด็กพิเศษกับโรงเรียนในสังกัด กทม.


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

Share to friend :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2013. KIP Thai - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger