{[['']]}
ผ่านไปเพียง 6 เดือน การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกปี 2556 พุ่งกระฉูดอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน พบผู้ติดเชื้อป่วยไปแล้ว กว่า 6.7 หมื่นราย เสียชีวิต 71 ราย คาดว่าสิ้นปีอาจมีตัวเลขสูงถึง 1.2 แสนราย ขณะที่ปี 2555 มีผู้ป่วย 7.4 หมื่นราย เสียชีวิต 79 ราย กระทรวงสาธารณสุขกำลังลุ้นระทึกตัวเลขผู้ป่วยคนสุดท้ายตอนสิ้นปีนี้ เพราะอาจถูกบันทึกเป็นสถิติใหม่แพร่ระบาดมากสุดในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา
ล่าสุด โรคไข้เลือดออกได้คร่าชีวิต "นนฑีฐิยา ภูวนนท์" อายุ 21 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ด้วยอาการไข้สูงปวดท้อง อีก 2 วันต่อมา เริ่มมีอาการช็อก อวัยวะภายใน เช่น ไต ตับ และหัวใจล้มเหลว ปอดอักเสบ และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไข้เลือดออกระบาดมีหลายสาเหตุด้วยกัน แต่ข้อมูลที่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิดคือ "ภาวะโลกร้อน" เนื่องจาก "ยุงลาย" ตัวการแพร่เชื้อชอบอากาศอบอุ่นร้อนชื้น เมื่อโลกมนุษย์ร้อนขึ้นยุงลายก็เติบโตแพร่ขยายพันธุ์ดีขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
นพ.วิชัย สติมัย ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค หนึ่งในคณะกรรมการติดตามผลกระทบด้านสุขภาพจากภาวะโลกร้อน กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่ปีที่แล้วจำนวนตัวเลขผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้นในระดับน่าเป็นห่วง ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ประเทศแถบเอเชียทั้งหมดเพิ่มขึ้นด้วย ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียนาม ฯลฯ งานวิจัยหลายชิ้นระบุถึงสาเหตุของอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ยุงลายแพร่พันธุ์ได้มากขึ้น และอายุยืนกว่าในอดีตด้วย ที่สำคัญประเทศในเขตหนาวเย็นหรือภูเขาสูงที่มีหิมะตลอดปี ซึ่งไม่เคยมียุงลายมาก่อน เริ่มตรวจพบผู้ป่วยไข้เลือดออกจากยุงลายเป็นครั้งแรก ตัวอย่างเช่น ประเทศภูฏาน พบผู้ป่วยไข้เลือดออกรายแรกในปี 2547 ต่อมาคือประเทศเนปาล พบผู้ป่วยไข้เลือดออกรายแรกในปี 2549
ย้อนหลังไปในอดีต อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นประมาณ 0.5 องศาทุกๆ 50 ปี แต่ช่วงนี้ผ่านไปเพียงแค่ 20-30 ปีโลกร้อนขึ้นแล้ว0.5-1 องศา น่าเป็นห่วงมาก เพราะยุงลายชอบอากาศร้อนชื้น ลูกหลานเจริญเติบโตได้เร็ว และอายุยืนขึ้นจากค่าเฉลี่ยที่ตายภายใน 30 วัน ก็เพิ่มเป็น 40-60 วัน หมายถึงมีโอกาสไปกัดคนเพื่อแพร่เชื้อได้หลายวันมากขึ้น"
นพ.วิชัย ยอมรับว่า ตั้งแต่ปีที่แล้วเฝ้าติดตามสถานการณ์ระบาดของไข้เลือดออก รู้สึกตกใจ เพราะตัวเลขสูงขึ้นต่อเนื่องทั้งปีอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ปกติช่วงสิ้นปีในหน้าหนาวจะมีรายงานผู้ป่วยสัปดาห์ละประมาณ 100-300 คนเท่านั้น แต่ปี 2555 จำนวนสูงขึ้นถึงเกือบ 2,000 คน มากกว่าปีอื่นๆ เกือบ 10 เท่า หากเปรียบเทียบย้อนหลัง คาดว่าปีนี้อาจมีผู้ป่วยไข้เลือดออกสูงที่สุดในรอบ 25 ปี
ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงประกาศให้ทั่วประเทศเฝ้าระวังและช่วยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะแหล่งคนอาศัยอยู่หนาแน่น เช่น ท่ารถขนส่ง เขตตลาดเทศบาล ฯลฯ หากยุงลายหนึ่งตัวมีเชื้อไข้เลือดออกมันจะกัดคนได้หลายคนครั้ง แม้ว่าจะกินเลือดจนอิ่มแล้วก็ตาม โดยร้อยละ 10 ของคนที่ถูกยุงลายกัดจะป่วยเป็นไข้เลือดออก ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 90 จะไม่ ป่วย เพราะร่างกายแข็งแรง แต่อาจเป็นพาหะนำโรคได้
"ถ้ามีผู้ป่วยไข้เลือดออก 7 หมื่นราย หมายถึงมีคนถูกยุงลายกัดประมาณ 7 แสนคน ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน เพราะไข้เลือดออกเกิดจากไวรัสเดงกี (Dengue Virus) ในเมืองไทยมี 4สายพันธุ์ ปัจจุบันสามารถพัฒนาวัคซีนป้องกันได้ 3 สายพันธุ์แล้ว ต้องรออีกสักระยะหนึ่ง เพื่อให้ผลิตวัคซีนได้สมบูรณ์วิธีดีที่สุดในตอนนี้คือ ให้ช่วยกันกำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของยุงลาย" นพ.วิชัย แนะนำ
ดร.จิตติ จันทร์แสง นักวิทยาศาสตร์กลุ่มกีฏวิทยาทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบายเพิ่มเติมว่า อากาศร้อนชื้นจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของลูกน้ำ เหมือนเป็นการเร่งให้วงจรชีวิตมันโตเร็วขึ้น จากเดิมที่ไข่กลายเป็นตัวยุงใช้เวลาอย่างน้อย 7 วันขึ้นไปอาจถึง 10 วัน แต่เดี๋ยวนี้ใช้เวลาเพียงไม่ถึง 7 วันก็เป็นตัวแล้ว ทั้งนี้ยุงลายในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ "ยุงลายบ้าน" และ "ยุงลายสวน"
"มีงานวิจัยหลายชิ้นจากเมืองนอกที่อธิบายภาวะโรคร้อนทำให้ยุงเติบโตเร็วขึ้น และทำให้ไวรัสที่อยู่ในตัวยุงแพร่เชื้อเร็วขึ้นด้วย แต่ก่อนพอยุงไปกัดคนมีเชื้อไวรัสเดงกีจะใช้เวลา 10-14 วัน รอให้ไวรัสที่อยู่ในเซลล์กระเพาะอาหารเดินทางไปฝังตัวที่ต่อมน้ำลายยุง เชื้อนี้จะส่งต่อให้คนใหม่ที่ถูกยุงกัดเป็นวิธีแพร่เชื้อออกไป เมื่อเดินทางเร็วขึ้นก็แพร่เชื้อต่อได้มากขึ้น"
ดร.จิตติ ยอมรับว่า จุดนี้สำคัญ เนื่องจากเป็นการเพิ่มฤทธิ์เดชให้ยุงลาย เพราะถ้าเชื้อไวรัสเดงกีเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำลายยุงเร็วขึ้น หมายความว่าพวกมันพร้อมที่จะปล่อยเชื้อไข้เลือดออกให้คนต่อไปจำนวนมากขึ้นไปอีก ปกติยุงลาย 1 ตัว มีโอกาสแพร่เชื้อให้คนถึง 5-6 คน สำหรับเมืองไทยยังไม่มีงานวิจัยที่ชี้ชัดว่า ระยะทางจากกระเพาะไปต่อมน้ำลายของยุงลายไทยใช้เวลาสั้นลงหรือไม่ คงต้องวิจัยเพิ่มเติมอย่างละเอียดว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร ?!!
เฝ้าระวัง 13 โรคร้ายโลกร้อน
ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่จากกรมควบคุมโรค ระบุว่า ช่วง10 ปีที่ผ่านมาไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำที่รุนแรงหลายชนิดจากภาวะโลกร้อน
โดยมีโรคที่คนไทยต้องเฝ้าระวัง 13 โรค
1. โรคไข้กาฬหลังแอ่น
2. โรคไข้เลือดออกอีโบลา
3. โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดรา
4. โรคไข้หวัดนก
5. ไข้เหลือง
6. โรคชิคุนกุนยา
7. โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
8. โรคติดเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสซูอิส
9. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส)
10. โรคทูลารีเมีย
11. โรคเมลิออยโดซิส
12. โรคลิชมาเนีย
13. โรควีซีเจดี หรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่
มหันตภัย 'ไข้เลือดออก'
จากสภาวะโลกร้อนทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำสูงขึ้น ส่งผลให้ลูกน้ำยุงลายฟักตัวเร็วขึ้นจากเดิม 7 วัน กลายเป็น 5 วัน และจากที่เคยพบไวรัสไข้เลือดออกเดงกีเฉพาะในตัวเมีย ปัจจุบันยังพบในยุงลายตัวผู้และลูกน้ำด้วย
โรคไข้เลือดออกพบครั้งแรก 200 ปีที่แล้ว ระบาดหนักครั้งแรกช่วง พ.ศ.2500 ใน 9 ประเทศ ปัจจุบันกลายเป็นโรคประจำท้องถิ่นกว่า 100 ประเทศ ในทวีปแอฟริกา อเมริกา เอเชีย ฯลฯ ซึ่งมีการติดเชื้อเพิ่มปีละ 50-100 ล้านคน อัตราเสียชีวิตร้อยละ 2.5 ส่วนประเทศไทย พบการระบาดตั้งแต่ปี 2501 สถิติเฉลี่ยผู้ป่วยประมาณ 5 หมื่น -1แสนคนต่อปี
ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก
ล่าสุด โรคไข้เลือดออกได้คร่าชีวิต "นนฑีฐิยา ภูวนนท์" อายุ 21 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ด้วยอาการไข้สูงปวดท้อง อีก 2 วันต่อมา เริ่มมีอาการช็อก อวัยวะภายใน เช่น ไต ตับ และหัวใจล้มเหลว ปอดอักเสบ และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไข้เลือดออกระบาดมีหลายสาเหตุด้วยกัน แต่ข้อมูลที่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิดคือ "ภาวะโลกร้อน" เนื่องจาก "ยุงลาย" ตัวการแพร่เชื้อชอบอากาศอบอุ่นร้อนชื้น เมื่อโลกมนุษย์ร้อนขึ้นยุงลายก็เติบโตแพร่ขยายพันธุ์ดีขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
นพ.วิชัย สติมัย ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค หนึ่งในคณะกรรมการติดตามผลกระทบด้านสุขภาพจากภาวะโลกร้อน กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่ปีที่แล้วจำนวนตัวเลขผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้นในระดับน่าเป็นห่วง ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ประเทศแถบเอเชียทั้งหมดเพิ่มขึ้นด้วย ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียนาม ฯลฯ งานวิจัยหลายชิ้นระบุถึงสาเหตุของอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ยุงลายแพร่พันธุ์ได้มากขึ้น และอายุยืนกว่าในอดีตด้วย ที่สำคัญประเทศในเขตหนาวเย็นหรือภูเขาสูงที่มีหิมะตลอดปี ซึ่งไม่เคยมียุงลายมาก่อน เริ่มตรวจพบผู้ป่วยไข้เลือดออกจากยุงลายเป็นครั้งแรก ตัวอย่างเช่น ประเทศภูฏาน พบผู้ป่วยไข้เลือดออกรายแรกในปี 2547 ต่อมาคือประเทศเนปาล พบผู้ป่วยไข้เลือดออกรายแรกในปี 2549
ย้อนหลังไปในอดีต อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นประมาณ 0.5 องศาทุกๆ 50 ปี แต่ช่วงนี้ผ่านไปเพียงแค่ 20-30 ปีโลกร้อนขึ้นแล้ว0.5-1 องศา น่าเป็นห่วงมาก เพราะยุงลายชอบอากาศร้อนชื้น ลูกหลานเจริญเติบโตได้เร็ว และอายุยืนขึ้นจากค่าเฉลี่ยที่ตายภายใน 30 วัน ก็เพิ่มเป็น 40-60 วัน หมายถึงมีโอกาสไปกัดคนเพื่อแพร่เชื้อได้หลายวันมากขึ้น"
นพ.วิชัย ยอมรับว่า ตั้งแต่ปีที่แล้วเฝ้าติดตามสถานการณ์ระบาดของไข้เลือดออก รู้สึกตกใจ เพราะตัวเลขสูงขึ้นต่อเนื่องทั้งปีอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ปกติช่วงสิ้นปีในหน้าหนาวจะมีรายงานผู้ป่วยสัปดาห์ละประมาณ 100-300 คนเท่านั้น แต่ปี 2555 จำนวนสูงขึ้นถึงเกือบ 2,000 คน มากกว่าปีอื่นๆ เกือบ 10 เท่า หากเปรียบเทียบย้อนหลัง คาดว่าปีนี้อาจมีผู้ป่วยไข้เลือดออกสูงที่สุดในรอบ 25 ปี
ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงประกาศให้ทั่วประเทศเฝ้าระวังและช่วยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะแหล่งคนอาศัยอยู่หนาแน่น เช่น ท่ารถขนส่ง เขตตลาดเทศบาล ฯลฯ หากยุงลายหนึ่งตัวมีเชื้อไข้เลือดออกมันจะกัดคนได้หลายคนครั้ง แม้ว่าจะกินเลือดจนอิ่มแล้วก็ตาม โดยร้อยละ 10 ของคนที่ถูกยุงลายกัดจะป่วยเป็นไข้เลือดออก ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 90 จะไม่ ป่วย เพราะร่างกายแข็งแรง แต่อาจเป็นพาหะนำโรคได้
"ถ้ามีผู้ป่วยไข้เลือดออก 7 หมื่นราย หมายถึงมีคนถูกยุงลายกัดประมาณ 7 แสนคน ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน เพราะไข้เลือดออกเกิดจากไวรัสเดงกี (Dengue Virus) ในเมืองไทยมี 4สายพันธุ์ ปัจจุบันสามารถพัฒนาวัคซีนป้องกันได้ 3 สายพันธุ์แล้ว ต้องรออีกสักระยะหนึ่ง เพื่อให้ผลิตวัคซีนได้สมบูรณ์วิธีดีที่สุดในตอนนี้คือ ให้ช่วยกันกำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของยุงลาย" นพ.วิชัย แนะนำ
ดร.จิตติ จันทร์แสง นักวิทยาศาสตร์กลุ่มกีฏวิทยาทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบายเพิ่มเติมว่า อากาศร้อนชื้นจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของลูกน้ำ เหมือนเป็นการเร่งให้วงจรชีวิตมันโตเร็วขึ้น จากเดิมที่ไข่กลายเป็นตัวยุงใช้เวลาอย่างน้อย 7 วันขึ้นไปอาจถึง 10 วัน แต่เดี๋ยวนี้ใช้เวลาเพียงไม่ถึง 7 วันก็เป็นตัวแล้ว ทั้งนี้ยุงลายในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ "ยุงลายบ้าน" และ "ยุงลายสวน"
"มีงานวิจัยหลายชิ้นจากเมืองนอกที่อธิบายภาวะโรคร้อนทำให้ยุงเติบโตเร็วขึ้น และทำให้ไวรัสที่อยู่ในตัวยุงแพร่เชื้อเร็วขึ้นด้วย แต่ก่อนพอยุงไปกัดคนมีเชื้อไวรัสเดงกีจะใช้เวลา 10-14 วัน รอให้ไวรัสที่อยู่ในเซลล์กระเพาะอาหารเดินทางไปฝังตัวที่ต่อมน้ำลายยุง เชื้อนี้จะส่งต่อให้คนใหม่ที่ถูกยุงกัดเป็นวิธีแพร่เชื้อออกไป เมื่อเดินทางเร็วขึ้นก็แพร่เชื้อต่อได้มากขึ้น"
ดร.จิตติ ยอมรับว่า จุดนี้สำคัญ เนื่องจากเป็นการเพิ่มฤทธิ์เดชให้ยุงลาย เพราะถ้าเชื้อไวรัสเดงกีเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำลายยุงเร็วขึ้น หมายความว่าพวกมันพร้อมที่จะปล่อยเชื้อไข้เลือดออกให้คนต่อไปจำนวนมากขึ้นไปอีก ปกติยุงลาย 1 ตัว มีโอกาสแพร่เชื้อให้คนถึง 5-6 คน สำหรับเมืองไทยยังไม่มีงานวิจัยที่ชี้ชัดว่า ระยะทางจากกระเพาะไปต่อมน้ำลายของยุงลายไทยใช้เวลาสั้นลงหรือไม่ คงต้องวิจัยเพิ่มเติมอย่างละเอียดว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร ?!!
เฝ้าระวัง 13 โรคร้ายโลกร้อน
ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่จากกรมควบคุมโรค ระบุว่า ช่วง10 ปีที่ผ่านมาไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำที่รุนแรงหลายชนิดจากภาวะโลกร้อน
โดยมีโรคที่คนไทยต้องเฝ้าระวัง 13 โรค
1. โรคไข้กาฬหลังแอ่น
2. โรคไข้เลือดออกอีโบลา
3. โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดรา
4. โรคไข้หวัดนก
5. ไข้เหลือง
6. โรคชิคุนกุนยา
7. โรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
8. โรคติดเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสซูอิส
9. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส)
10. โรคทูลารีเมีย
11. โรคเมลิออยโดซิส
12. โรคลิชมาเนีย
13. โรควีซีเจดี หรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่
มหันตภัย 'ไข้เลือดออก'
จากสภาวะโลกร้อนทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำสูงขึ้น ส่งผลให้ลูกน้ำยุงลายฟักตัวเร็วขึ้นจากเดิม 7 วัน กลายเป็น 5 วัน และจากที่เคยพบไวรัสไข้เลือดออกเดงกีเฉพาะในตัวเมีย ปัจจุบันยังพบในยุงลายตัวผู้และลูกน้ำด้วย
โรคไข้เลือดออกพบครั้งแรก 200 ปีที่แล้ว ระบาดหนักครั้งแรกช่วง พ.ศ.2500 ใน 9 ประเทศ ปัจจุบันกลายเป็นโรคประจำท้องถิ่นกว่า 100 ประเทศ ในทวีปแอฟริกา อเมริกา เอเชีย ฯลฯ ซึ่งมีการติดเชื้อเพิ่มปีละ 50-100 ล้านคน อัตราเสียชีวิตร้อยละ 2.5 ส่วนประเทศไทย พบการระบาดตั้งแต่ปี 2501 สถิติเฉลี่ยผู้ป่วยประมาณ 5 หมื่น -1แสนคนต่อปี
ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น