mas template

นาซาช่วงชิงการสร้างระบบการตรวจจับดาวเคราะห์น้อย

{[['']]}

ที่มาของภาพ www.http://www.iac.es/img/prensa/prensa786_1010_hi.jpg
องค์การนาซา มหาวิทยาลัย และกลุ่มเอกชนในสหรัฐอเมริกากำลังทำงานร่วมกันในโครงการระบบเตือนภัยดาวเคราะห์น้อย (asteroid warning systems) ที่สามารถตรวจจับวัตถุจากอวกาศเหมือนกับในกรณีที่อุกาบาตที่พุ่งเข้าสู่โลกเหนือท้องฟ้าของรัสเซียเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และทำให้เกิดแสงวาบและคลื่นกระแทกอย่างรุนแรง
อย่างไรก็ตาม ตัวแทนด้านอวกาศของสหรัฐอเมริกาย้ำว่าเหตุการณ์ดังกล่าว ที่เกิดขึ้นในรัสเซียและทำให้ผู้คนร่วมหนึ่งพันคนได้รับบาดเจ็บจากเศษกระจกบาดนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน้อยครั้งมาก ทั้งนี้ พอล โคดัส เจ้าหน้าที่ของห้องปฏิบัติการนาซาเจพีแอล (JPL : Jet Propulsion Laboratory) กล่าวว่า จากตัวเลขทางสถิติโดยเฉลี่ยแล้วเราคาดว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่มีขนาดเท่ากับกรณีของรัสเซียได้เพียงหนึ่งครั้งในรอบทุกๆ หนึ่งร้อยปี

อุกาบาตขณะพุ่งผ่านท้องฟ้าบริเวณเมืองเชเลียบินสค์ ภาคกลางของรัสเซีย เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 03:20 นาฬิกา ตามมาตรฐานเวลากรีนิช
ที่มาของภาพ http://storify.com/thedailybeast/meteor-shower-hits-russia?utm_source=embed_header
สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนน่านฟ้าของรัสเซีย นักวิทยาศาสตร์ของนาซาได้คำนวณขนาดของอุกาบาตจากข้อมูลที่ตรวจจับได้จากสถานีตรวจจับอินฟราซาวนด์ของนาซาที่อลาสกา โดยก่อนที่มันจะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก อุกาบาตดังกล่าวมีขนาด 17 เมตร น้ำหนักประมาณ 7,000 ถึง 10,000 ตัน และในขณะที่ระเบิดมันปลดปล่อยพลังงานออกมามีขนาดประมาณ 500 กิโลตัน
นอกจากนี้ ในวันเดียวกัน วัตถุอวกาศดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50 เมตร และมีมวลประมาณ 190,000 ตัน ได้โคจรผ่านโลกข้ามท้องฟ้าของรัสเซียไปโดยไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆ อย่างไรก็ตาม ถ้าดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวพุ่งลงสู่พื้นดิน ความรุนแรงของมันอาจทำให้มหานครขนาดใหญ่หายไปจากแผนที่เลยทีเดียว

ภาพถ่ายดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 ขณะเดินทางเข้าใกล้โลก
ที่มาของภาพ http://nightskyinfocus.com/2013/02/16/asteroid2012da14capturedfromquezoncity/
สำหรับคำถามจากผู้คนทั่วโลกมีขึ้นต่อเหตุการณ์ที่รัสเซียว่า ทำไมไม่มีการแจ้งเตือนให้ผู้คนได้รับทราบมาก่อน? ประเด็นสาเหตุหลักก็คืออุกาบาตดังกล่าวไม่ได้ถูกตรวจพบมาก่อนนั้นเอง
ลินด์ซี จอห์นสัน ผู้จัดการโครงการวัตถุใกล้โลก (NEO : Near Earth Object) ของนาซา กล่าวว่า เมื่อสิบปีก่อน นาซายังไม่มีขีดความสามารถที่จะตรวจจับดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 ได้ อย่างไรก็ตาม นาซาได้มีความคืบหน้าเป็นอย่างมากในการเรียนรู้ที่จะตรวจพบดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเล็กได้
จอห์นสัน กล่าวเสริมอีกว่า วัตถุอวกาศที่โคจรทใกล้โลกของเรามีเป็นจำนวนมากถึงครึ่งล้านชิ้น !!! และพวกมันเหล่านั้นยากที่จะถูกตรวจจับและติดตามได้เพราะขนาดของมันเล็กมาก

เว็บไซต์ของโครงการวัตถุใกล้โลก ณ ห้องปฏิบัติการนาซาเจพีแอล (JPL : Jet Propulsion Laboratory)
ที่มาของภาพ http://neo.jpl.nasa.gov/
สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดโดยสภาคองเกรสในปี 1998 นาซาได้ค้นพบและจัดทำแค็ตตาล็อกถึงร้อยละ 95 ของดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่หนึ่งกิโลเมตรขึ้นไป โดยดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวอยู่ในวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์และมีศักยภาพทำให้เกิดการทำลายล้างที่สูงมาก
ณ ปัจจุบัน โครงการวัตถุใกล้โลกของนาซาสามารถตรวจจับและติดตามดาวเคราะห์น้อยและดาวหางที่เคลื่อนที่เข้าใกล้โลก โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ที่อยู่บนพื้นโลกและที่โคจรอยู่ในอวกาศ ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์จะคำนวณประมาณค่ามวลและวงโคจรของวัตถุอวกาศดังกล่าวว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อโลกหรือไม่
ด้วยระบบดังกล่าว กล้องโทรทรรศน์วิทยุอเรซิโบ ในประเทศเปอโตริ โก ซึ่งมีสายอากาศขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 305 เมตร ที่มีความไวสูงในการสังเกตการณ์ได้ถึงหนึ่งในสามของท้องฟ้าและสามารถตรวจจับดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่

กล้องโทรทรรศน์วิทยุอเรซิโบ ในประเทศเปอโตริโก
ที่มาของภาพ http://travelandsports.com/img/jpg/00bl008.jpg
ที่ผ่านมา การสังเกตดาวเคราะห์น้อยที่เกิดขึ้นทุกหนแห่งบนโลกจากการใช้กล้องโทรทรรศน์ (แม้กระทั่งโดยนักดูดาวมือสมัครเล่น) จะต้องถูกส่งผ่านไปยังศูนย์ Minor Planet Center ที่ดูแลโดยหอดูดาวฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของสมิทโซเนียน ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินจากนาซา
แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่งบประมาณมีจำกัด นาซาเองพยายามที่จะพัฒนาระบบเฉพาะด้านที่มีขีดความสามารถในการติดตามวัตถุอวกาศที่มีขนาดเล็ก อาทิ โครงการแอตลาส (ATLAS : Asteroid Terrestrial-Impact Alert System) มูลค่าห้าล้านเหรียญที่สนับสนุนให้แก่มหาวิทยาลัยฮาวาย
ทั้งนี้นักวิจัยกล่าวว่า โครงการแอตลาสจะเฝ้าดูท้องฟ้าทั้งหมดในทุกๆคืน เพื่อที่จะตรวจจับวัตถุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 45 เมตร (ขนาดเดียวกันกับดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14) ให้ได้ล่วงหน้าหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่มันจะพุ่งเข้าชนโลก
สำหรับระบบตรวจวัดวัตถุอวกาศขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 เมตรนั้น จะสามารถดำเนินการได้ในปลายปี 2015 โดยจะสามารถตรวจจับวัตถุอวกาศได้ล่วงหน้าสามสัปดาห์ก่อนที่มันจะพุ่งเข้าชนโลก
จอห์น ทอนรี ผู้วิจัยหลักโครงการแอตลาสกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโครงการแอตลาสก็เพื่อจะตรวจจับวัตถุอวกาศและให้ข้อมูลเตือนภัยล่วงหน้าแก่ประชาชน

จอห์น ทอนรี และภาพวาดของกล้องโทรทรรศน์แอตลาส (ขนาด 20 นิ้ว)
ที่มาของภาพ http://www.ifa.hawaii.edu/info/press-releases/ATLAS/
อย่างไรก็ตาม ความพยายามของนาซาดูเหมือนว่าจะไม่เพียงพอ เนื่องจากมีหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่มีอดีตนักบินอวกาศและนักวิทยาศาสตร์รวมกลุ่มก่อตั้งขึ้น ชื่อ B612 ได้เปิดตัวโครงการที่ออกแบบสร้างและจัดส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศดวงแรกของภาคเอกชนเพื่อติดตามดาวเคราะห์น้อยและเพื่อปกป้องมวลมนุษยชาติ

กล้องโทรทรรศน์อวกาศ “เซนทิเนล”
ที่มาของภาพ http://b612foundation.org/sentinelmission/
ทั้งนี้ กองทุน B612 มีความพยายามในการระดมเงินสูงถึง 450 ล้านเหรียญ เพื่อใช้สำหรับการสร้างและส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ชื่อว่า เซนทิเนล (Sentinel) ที่มีความสูง 7.6 เมตรโดยประมาณ ขึ้นสู่อวกาศภายในปี 2017 ทั้งนี้ได้ออกแบบให้เซนทิเนลมีวงโคจรแบบรอบดวงอาทิตย์ ที่ระยะ 273 ล้านกิโลเมตรจากพื้นโลก 



แหล่งข้อมูลอ้างอิงhttp://www.space.mict.go.th
Share to friend :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2013. KIP Thai - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger